ufabet

การควบคุมอาหารกับโรคเบาหวาน

เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด ซึ่งการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ ดังนั้น

การควบคุมอาหารและการรู้จักเลือกกินอาหารที่เหมาะสม ในปริมาณที่ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกาย จึงเป็นอีกวิธีที่เป็นการรักษาาและป้องกันโรคเบาหวาน

โดยอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบ่งง่ายๆ เป็น3 ประเภท ได้แก่

อาหารที่ “ไม่ควร” รับประทาน

  • น้ำตาลทุกชนิดเช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปิ๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ขนมหวานต่างๆ        
  • ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมข้นหวาน นมปรุงแต่งรสหวาน โยเกิร์ตปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว
  • ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกต อินทผลัม รวมถึงผลไม้กระป๋อง
  • อาหารปรุงแต่งด้วยไขมันอิ่มตัว เช่นไขมันสัตว์ ไส้กรอก หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ เนยเทียม ครีม

ufabet

อาหารที่รับประทานได้แต่ต้อง “จำกัดปริมาณ”

อาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ขนมปัง เผือก มัน ฟักทอง อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาล และมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล และเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานให้เหมาะสมกับแรงงานและกิจกรรมที่ทำ การรับประทานข้าวน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ การเลือกรับประทานข้าวควรเลือกเป็น ข้าวกล้อง หรือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพราะมีใยอาหารสูง

ผลไม้ ผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกัน ยิ่งรสหวานมากยิ่งมีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย องุ่น เงาะ มะม่วงสุก ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวาน ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน เช่น รับประทานวันละ 3 มื้อ มื้อละ7-8 ชิ้นพอดีคำ

อาหารที่รับประทานได้ “ไม่จำกัดปริมาณ”

ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกวัน ทุกมื้ออาหาร รับประทานให้หลากหลายสี อาหารเหล่านี้แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ได้อย่างพอดี ได้แก่ ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ตำลึง บวบ ฟัก แตงกวา น้ำเต้า ถั่วฝักยาว ถั่วงอก เป็นต้น จะรับประทานในรูปผักสดหรืผักต้มก็ได้ แต่ไม่แนะนำในรูปน้ำผักปั่น โดยเฉพาะผักปั่นแยกกากทำให้เราไม่ได้รับใยอาหารเท่าที่ควร

องค์การอนามัยโลกกำหนดให้บริโภคผักผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับปริมาณ 4-6  ทัพพี ถ้าเป็นผักลวกสุกต้องเพิ่มขึ้น 2 เท่า งานวิจัยพบว่าการกินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจร้อยละ 33 และโรคมะเร็งร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับคนที่กินผัก ผลไม้ ไม่ถึงเกณฑ์

การนับคาร์บ หรือ คาร์โบไฮเครตเป็นอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งเมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือด พบได้ในอาหาร 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ข้าวแป้ง ผลไม้ นม/โยเกิร์ต ในขณะที่ผักและเนื้อสัตว์ มีน้อย จึงไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลมากนัก

อาหาร1คาร์บ คือ อาหารที่มีคาร์โบเดรต ประมาณ 15 กรัม เช่น ข้าวสวย 1 ทัพพี , ข้าวเหนียว 1/2 ทัพพี , ขนมปัง1แผ่น , แอปเปิ้ล 1 ลูก , นมสด 240 ml , น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ


อ่านบทความข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ webstats-r-us.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated